ทักษิณฉบับ ‘เด็กชาย’

ห้องแถวไม้เล็ก ๆ 2 ชั้น
ในตลาดสันกำแพง
พ่อเลิศ แม่ยินดี และลูก ๆ 9 คน
นอนรวมกันชั้นบน
ชั้นล่างขายกาแฟ
เด็กบ้านนอกชื่อทักษิณ

ไม่ได้เกิดมาบนกองเงินกองทอง

ทุกเช้าก่อนไปโรงเรียน
เด็กชายทักษิณจะต้องตื่น
มาช่วยพ่อแม่ขายของ

บางวันชงกาแฟ
บางวันทำหวานเย็น
บางวันตัดกล้วยไม้
ใส่ตะกร้าไปเดินขาย

เด็กชายทักษิณกับเพื่อน
เคยรับไอศกรีมมาขาย
รับมา 5 แท่ง 1 บาท
นำไปขายแท่งละ 1 สลึง
เพื่อนขายท้ายตลาด
ส่วนเด็กชายทักษิณขายหน้าตลาด

พ่อแม่เลี้ยงมาอย่างติดดิน
ก็ทำให้ผมสำนึก
เข้าถึงชีวิตชาวบ้าน
มากทีเดียว

เรียบร้อย เรียนเก่ง
ขยัน และใจกว้าง

คือคำที่ครูและเพื่อน ๆ วัยเด็ก
นิยามเด็กชายทักษิณ

หากเพื่อนคนไหน
เรียนหนังสือไม่เก่ง
เขาก็จะพยายามสอนให้
ครูจึงไม่เคยลงโทษทักษิณ
เพราะเขาเรียบร้อย ไม่เกเร

แม้จะไม่ร่ำรวย แต่พ่อเลิศกล้าลงทุน
ใน

นวัตกรรมมาเสมอ ไม่ว่าจะเป็นตู้เย็น
หรือรถไถเครื่องแรกของสันกำแพง

คือแกเป็นคนกล้าที่จะใช้
เทคโนโลยี ใช้ของสมัยใหม่
ผมเป็นคนทันสมัย
ตั้งแต่เด็กเพราะพ่อ
สัมผัสกับพ่อ เห็นพ่อมา

ชีวิตในวัยเด็กของเด็กชายทักษิณ
เป็นส่วนสำคัญของการออกแบบนโยบาย
เพื่อเด็กยากจนหลายล้านคนทั่วประเทศ
เช่น

นโยบาย 1 อำเภอ 1 ทุน
หรือ
โครงการ 'จักรยานยืมเรียน'

เมื่อ พ.ศ. 2546
รัฐบาลจัดหาจักรยานให้นักเรียน
ได้ยืมใช้จนจบการศึกษา

สมัยเป็นเด็กก็ขี่จักรยาน
ไปโรงเรียน
แม่ซื้อจักรยานมือสองให้
เด็กบางคนต้องเดิน 4 กิโลเมตร
มาทำเวรไม่ทัน ถูกให้ยืนหน้าชั้น
ชีวิตก็ลำบากอยู่แล้ว
ยังมาถูกประจาน
เด็กที่จนนั้น
กว่าจะออกจากบ้าน
จะต้องทำการบ้าน
ต้องช่วยพ่อแม่ทำงาน
ถ้าเรามีเยาวชนของชาติ
ที่ลำบาก 1 ล้านคน
ก็ต้องช่วยทั้ง 1 ล้านคน
เงินไม่มี ผมจะหาจนได้
paper
เรียนเก่ง
และขยันทำมาหากิน
– ทักษิณฉบับ ‘เด็กชาย’

อ่าน ‘ทักษิณ’ ฉบับเต็มได้ใน
Thaksin Shinawatra: Theory and Thought
หนังสือฉบับพิเศษที่รวบรวมบทสัมภาษณ์
ทักษิณ ชินวัตร ครอบครัว เพื่อนร่วมงาน และประชาชน
ซึ่งไม่เคยเปิดเผยที่ไหนมาก่อน