ทักษิณฉบับ ‘หนอนหนังสือ’
การฝึกให้เด็ก ๆ รักการอ่าน
จะช่วยพัฒนาให้เขาเติบโตขึ้น
เป็นคนที่รักในการเรียนรู้
คนที่มีความรอบรู้
จะเป็นคนที่ได้เปรียบ
และเห็นโอกาสที่จะสร้างอนาคต
ส่วนหนึ่งจากคำนิยมของทักษิณ
ในหนังสือ
แฮร์รี่ พอตเตอร์ ฉบับภาษาไทย
ปีที่ผ่านมา ทักษิณสร้างความฮือฮา
ด้วยการกลับมาปรากฏตัว
ในนาม Tony Woodsome
หนึ่งในภาพจำของการกลับมาครั้งนี้
คือชั้นหนังสือสีขาวติดผนัง สูงจรดเพดาน
อัดแน่นไปด้วยหนังสือหลายประเภท
เป็นฉากหลังทุกครั้งที่เขาไลฟ์ในเฟซบุ๊ก
และหลายครั้งทักษิณ
ก็แนะนำหนังสือให้ผู้ชมด้วย
ภาพจำนี้ตอกย้ำความจริงที่ว่า
อดีตนายกฯ ผู้นี้เป็นหนอนหนังสือ
โลกยังต้องเปลี่ยนไปอีกมาก
พลังสมองจึงเป็นหัวใจ
ของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ย้อนกลับไปเมื่อ พ.ศ. 2545
ทุกเช้าก่อนเริ่มประชุมคณะรัฐมนตรี
ทักษิณจะแนะนำหนังสือให้คณะรัฐมนตรีอ่าน
เพื่อเปิดมุมมองของคณะทำงาน
ให้กว้างกว่าเอกสารตรงหน้า
ปัจจุบันและอดีตสำคัญมาก
แต่ที่สำคัญกว่าคืออนาคต
เราจะอยู่อย่างไร
หากอนาคตมาอยู่ตรงหน้า
แล้วคุณถอยหลัง…
เราทำได้ แค่เราเตรียมพร้อม”
ใน พ.ศ. 2546 ทักษิณได้เสนอให้จัดตั้ง
“องค์กรเพื่อส่งเสริมการอ่าน การเรียนรู้
และเผยแพร่งานวิชาการ”
นับเป็นก้าวแรก
ก่อนจะตามมาด้วยนโยบายและองค์กร
ที่เกี่ยวพันกับการ
กระจายความรู้มากมาย
เช่น
OKMD, คอมพิวเตอร์เอื้ออาทร ฯลฯ
ซึ่งเป็นไปตามความตั้งใจที่ทักษิณเคยแถลงไว้ว่า
รัฐบาลจะส่งเสริม
นิสัยรักการอ่านอย่างจริงจัง
ตั้งแต่เด็กจนตลอดชีวิต
เพื่อรองรับสังคม เศรษฐกิจ
บนฐานความรู้
แม้ในปัจจุบันเขาจะกลายเป็นคุณตาแล้ว
แต่ก็ยังคงนิสัยรักการอ่านไว้
เพราะทักษิณเชื่อว่า โลกยุคนี้
เป็นยุคที่หลายเจเนอเรชันต้องอาศัยอยู่ร่วมกัน
การอ่านจะเป็นเครื่องมือ
ลดช่องว่าง สร้างความเข้าใจ
ระหว่างเจเนอเรชัน
คือผมเป็นคนอัปเดตตัวเอง
อาจจะเป็นเหมือนคนสมัยใหม่
ที่ชอบอ่านหนังสือ
พยายามเข้าใจเจเนอเรชัน
ที่เปลี่ยนไป”
และการเข้าถึงความรู้
จะสามารถพัฒนาคนได้