Good Monday EP.9 | ตอนที่ 2 "แปรรูปเกษตรด้วยเทคโนโลยีและการตลาด" - Thaksin Official


Highlight

การแปรรูปสินค้าการเกษตรจะสามารถแก้ปัญหาราคาตกต่ำได้อย่างไร ผมก็จะขอยกตัวอย่างที่เห็นชัดๆคือการที่บริษัทอย่าง Amazon เข้าซื้อซุปเปอร์มาร์เกตใหญ่ชื่อ Whole foods ว่าทำไม Amazon ถึงตัดสินใจซื้อ

ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตอาหาร Organic ได้อย่างดี แต่ต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการผลิตเสียก่อน ตั้งแต่การปรับหน้าดิน การปลูก เลือกเมล็ดพันธุ์ ไปจนถึงการบรรจุหีบห่อและการขนส่ง สิ่งที่สำคัญคือ ต้องรู้จักนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ใช้ให้เป็นประโยชน์ การเกษตรก็จะสามารถเป็นอาชีพไม่ลำบากยากจน เลี้ยงครอบครัวได้ครับ

Transcript

     สวัสดีครับพี่น้องชาวไทยที่เคารพรักครับ วันนี้เนี่ยการเกษตรเนี่ย มันเป็นสิ่งที่คนกำลังมุ่งไปสู่ความเป็น Organic ความเป็น Organic ก็คือที่มันไร้สารพิษทั้งหลาย เพราะว่าคนเริ่มอายุมากขึ้น หรือเริ่มรวยขึ้นก็มีความรู้สึกว่ากลัวตาย ก็เลยต้องเลือกอาหารกิน เพราะเขาเชื่อมั่นว่า you are what you eat เรากินอะไรเข้าไปมันก็จะได้ผลอย่างนั้น เพราะฉะนั้นก็เลยต้องเลือกกินอาหารที่มันเป็น Organic ก็ดูอย่าง Amazon ไปซื้อ Supermarket ใหญ่ที่เรียกว่า Whole Foods ซึ่งขายอาหารที่เป็นออแกนิคทั้งหมด Amazon ก็อยากจะไปเรียนรู้เรื่องของ Organic Food เรื่องการ Sourcing ของ การหาซื้อของที่ Organic เข้าร้าน แล้วเขาก็ไปปรับปรุงวิธีการขาย วิธีการตลาด แล้วก็เป็นสิ่งที่ Amazon ทำไปแล้ว Whole Foods ตอนนี้ก็ดัง ที่ในประเทศไทยเรายังไม่มี เพราะฉะนั้นคนก็อยากจะกินอาหารพวก Organic ซึ่งประเทศไทยเราก็ทำได้ แต่วันนี้อย่างที่บอกว่าดินมันเสียงเป็น 80% แล้ว 108 ร้านไร่ ก็ต้องมีการพลิกหน้าดิน พลิกพื้นดินใหม่ ก็คือพลิกเอาดินที่มันเสียแล้วพลิกลงไป แล้วก็ให้ธรรมชาติมันล้างดินที่มันเป็นเคมีออกไป อย่างที่ผมเคยพูดเรื่องของการเอาซังข้าวเนี่ย ตอข้าวที่เหลือที่มันเกี่ยวแล้วเนี่ย แทนที่เราจะเผาจนจุลินทรีย์ในดินเสีย เราก็เป็นการขังน้ำ ขังน้ำแล้วพลิกหน้าดินไปด้วย ก็จะทำให้ดินมันคืนสภาพที่บริสุทธิ์เร็วขึ้น อันนี้ก็จะทำให้การขายผลผลิตการเกษตรที่บนดินที่มันเป็น Organic เป็นดินที่มันบริสุทธิ์แล้ว แล้วเราก็ไม่ได้ใช้เคมีอะไร ก็จะทำให้ขายของที่เป็นราคาออแกนิกที่ราคาแพงขึ้นได้นะครับ ก็คิดว่าคงเป็นแนวทางอันนึงที่อยากจะแนะนำนะครับ เพราะว่าอาหารปลอดภัยเนี่ยมันเป็นอะไรที่กำลังมาแรงนะครับ ถ้าประเทศไทยเราสามารถทำได้ที่เรียกว่า traceability สามารถพิสูจน์ให้เค้าเห็นว่า From Farm to Table ตั้งแต่ฟาร์มจนผลิตเป็นอาหารได้เนี่ยมันปลอดภัยทุกขั้นตอน เราจะขายในราคา Premium หรือได้ราคาเพิ่มขึ้นได้นะครับ

     วันนี้คนกำลังมองว่าพืชผลไม้ทั้งหลายมันเป็นประโยชน์อะไรบ้าง ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เมื่อก่อนนี้เราจำได้ไหมครับ ยูคาลิปตัสที่ทางเกษตรรุ่งเรืองเอาไปทำปลูกป่า ยูคาลิปตัสเต็มไปหมด เพื่อจะเอามาทำกระดาษ นอกจากทำกระดาษแล้ว วันนี้ผมพึ่งเรียนรู้ว่าเขาเอาใยของยูคาลิปตัสไปทำรองเท้า ตอนนี้โอบามาซื้อใส่คู่ละ 95 เหรียญดอลล่าร์สหรัฐ ก็คงประมาณ 3 พันบาท ก็ทำจากใยยูคาลิปตัส เห็นไหมครับว่าใยไม้ทั้งหลายมีประโยชน์หลายอย่าง แม้กระทั่งใยกัญชงก็เอามาทำเสื้อผ้าได้ เพราะฉะนั้นต่อไปนี้อะไรที่มันเป็นด้านการเกษตร เป็นสิ่งที่มันมีชีวิต เป็นพืชอะไรพวกนี้ ก็จะทำให้คนเอาไปใช้ประโยชน์ได้ทุกอย่าง วิชาวัสดุศาสตร์ก็ก้าวหน้าไปมากนะครับ ก็เลยมีการเอาวัสดุต่างๆ วัสดุจากต้นไม้ ใยไม้อะไรทั้งหลาย เอามาทำประโยชน์ได้เยอะแยะเพราะฉะนั้นการเกษตรเนี่ยมันน่าจะเป็นช่องทางทำมากินอีกอย่างหนึ่งของคนไทย แต่อย่าไปทำเกษตรแบบโบราณ ต้องใช้ที่ดินเยอะๆ น้ำเยอะๆ มันทำไม่ได้แล้วเพราะว่ามันจำกัด

     ผมจะมายกตัวอย่างให้อันนึงว่า การแปรรูปการเกษตรของเราเนี่ยยังน้อยไป ผมเคยพูดตลอดเวลาว่า เราเนี่ยขุดน้ำมันไม่ได้ เราก็ปลูกมันซะเลย นั่นก็คือการเอาพืชมาทำพลังงานได้หลายอย่าง เช่นว่าเรื่องของข้าวที่เหลือเนี่ย มันสามารถดึงออกจากส่วนที่เหลือจากตลาด เอามาทำเป็นเอททานอลเพื่อใส่ผสมกับน้ำมันเบนซินใช้ ซึ่งมันก็จะทำให้เครื่องยนต์สะอาดดีด้วยนะครับ และก็สามารถที่จะทำให้ข้าวส่วนที่ปลูกเกินเนี่ยมันไม่ต้องไปไหน มันเอามาทำเป็นเอทานอลซะ และที่เหลือข้าวเพื่อการบริโภคก็ใช้บริโภคไปนะครับ การตลาดและการแปรรูปของเรายังอ่อนแอ ถ้าเราทำการแปรรูปให้ดีมากขึ้นกว่านี้ เป็นระบบกว่านี้ ไม่ขัดแย้งกันระหว่างองค์กรที่เกี่ยวข้อง ช่วยเหลือเกื้อกูลกันเนี่ย ผมคิดว่าเราสามารถที่จะทำให้เกษตรกรเนี่ย แทนที่จะเป็นเกษตรกรเพื่อวิถีชีวิต เป็นเกษตรกรที่ทำเป็นธุรกิจได้ รวยได้ มีฐานะได้นะครับ ก็อยากให้เกษตรกรเราเหมือนเกษตรกรต่างประเทศครับ เพราะว่าเกษตรกรต่างประเทศเนี่ยเขาปลูกแล้วเขามีตังค์ใช้ เขาไม่ต้องลำบากยากจน และก็ต้องมาขอเพิ่งรัฐบาลตลอดเวลา แต่รัฐบาลก็ต้องหาช่องทางในการช่วยเหลือ

     ยกตัวอย่างอีกเรื่องที่เกิดขึ้นที่เราเสียเปรียบนะครับ เรื่องของยางพารา เมื่อก่อนนี้ยางพาราเราเนี่ย ก่อนที่ผมจะมาเป็นนายกรัฐมนตรีตอนนั้นเนี่ย กิโลกรัมละ 16 บาทนะครับ ผมก็ไปคุยกับผู้ผลิตยางรถยนต์ ผู้ผลิตยางรถยนต์ในโลกใช้ยางพาราไปเนี่ยประมาณ 80% ของตลาดในวันนั้นนะครับ ผมก็เลยคุยกับเจ้าของโรงงานผลิตยางรถยนต์มิชลิน เขาเป็นคนแนะนำเองครับว่าราคาที่เขาซื้อมันถูกไป เขาซื้อแพงกว่านี้ก็ได้ แต่สำคัญคือยางจะต้องมีส่งให้เขาอย่างต่อเนื่อง เพราะว่าเขาจะต้องใช้ยางดิบเนี่ยประมาณ 50% อย่างน้อย แล้วก็มียางสังเคราะห์เข้าไปปน ราคา 2 ตัวนี้เขาดึงกันได้ อยู่ที่ว่ายางสังเคราะห์แพงไป เขาก็เพิ่มยางดิบขึ้นมาหน่อย ยางสังเคราะห์ถูก เค้าก็ลดยางดิบลงมาหน่อย แต่อยู่ที่ประมาณ 50% ถ้าต่ำกว่า 50% ของยางดิบ ยางธรรมชาติเนี่ย ก็จะทำให้ยางมันไม่นิ่ม แต่ว่าเขาสามารถปรับได้นิดหน่อย ที่จะทำให้ต้นทุนเขาเนี่ยคงตัว เขาก็เลยแนะนำว่าได้ ถ้าจะขึ้นราคา ผมก็เลยเอาเรื่องนี้ไปคุยกับรัฐบาลอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นผู้ผลิตและส่งออกเป็นอันดับ 2 ตอนนั้น ก็คือท่านประธานาธิบดีเมกาวาตี แล้วตอนนั้นนายกรัฐมนตรีมหาเธร์ เป็นนายกของมาเลเซียก็เป็นผู้ผลิตและส่งออกเหมือนกัน แต่ส่วนใหญ่แล้วเค้าส่งออกในรูปของการแปรรูปนะครับ ของเราส่งออกเป็นยางดิบ ก็เลยคุยกันแล้วก็ตั้งกองทุนขึ้นมา ในที่สุดกองทุนที่ตั้งไม่ได้ใช้เงินสักบาท ราคาก็วิ่งขึ้นวิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องนะครับ จนผมออกมาแล้วก็ขึ้นไปถึงร้อยบาท แต่ว่า 100 กว่าบาทเนี่ยอาจจะไม่ค่อยธรรมชาติเท่าไหร่ เพราะอะไรผมพึ่งมาค้นพบว่า ตลาดล่วงหน้าที่เซี่ยงไฮ้ เพราะว่าจีนใช้ยางมาก จีนก็เลยซื้อของไปสต็อกรอไว้ แล้วก็ใช้ตลาดล่วงหน้าเป็นตัวเล่น แล้วก็ไม่ซื้อยางอีกเลย ราคายางก็เริ่มร่วงๆๆๆ จนมาถึงราคาปัจจุบันนี้เราก็เห็นแล้วว่า 3 โล 100 สำหรับอย่างจากชั้น 3 ยางชั้น 4 ชั้น 5 เนี่ยก็เป็น 4 โล 100 ไปแล้ว เพราะฉะนั้นก็เลยทำให้ชาวเกษตรกรเดือดร้อน ค่ากรีดก็ไม่ค่อยคุ้ม เพราะฉะนั้นวิธีแก้ก็คือจะต้องสู้กันเรื่องของกลไก เรื่อง Demand Supply นี่แหละ เรื่องอุปสงค์อุปทานนี่แหละ ก็จะต้องแก้กันตรงนี้ การแก้ก็คงไม่ยากแล้วล่ะ เพราะว่าถ้าเรารู้ว่าเหตุมันอยู่ตรงไหนเราก็แก้ได้ เพราะเราคือผู้ผลิตยางที่ส่งออกรายใหญ่ที่สุดในโลก คือประมาณ 3 ล้านตันนะครับ ก็เราสามารถที่จะดึงบางส่วนออกเพื่อให้ Supply มันลดลง เท่านั้นน่ะพ่อค้าก็วิ่งซื้อ เพราะเดี๋ยวส่งมอบให้ตลาดที่เซียงไฮ้ไม่ได้นะครับ เราก็ต้องมีวิธีดึง ดึงยังไงไม่เดือดร้อนงบประมาณ นั่นก็คือสิ่งที่จะต้องทำให้ราคายางมันขึ้นไป

     เหมือนกันครับ ราคาข้าวก็เหมือนกัน ข้าวเนี่ยเราก็ต้องดูว่าความต้องการของในประเทศเท่าไหร่ ความต้องการของโลกที่จะซื้อจากเราเท่าไหร่ ส่วนเกินดึงออกมาเลย พอดึงออกมาปุ๊บ ดึงมาต่ำหน่อยนึงเนี่ยวิ่งกันซื้อเลยนะครับ วิธีดึงก็ต้องแปรรูป ถ้าเราไม่แปรรูปก็ดึงยาก แปรรูปที่ง่ายที่สุดนะครับในราคาน้ำมันระดับนี้ และภาษีน้ำมันสูงอย่างนี้เนี่ย ง่ายที่สุดก็คือเอามาทำเอททานอลนะครับ แม้กระทั่งอย่างเมื่อกี้ที่พูดไปก็คือไบโอดีเซล ก็คือการเอาน้ำมันปาล์มที่เหลือ ที่ส่วนเกินเนี่ยดึงเอามาทำ เพราะฉะนั้นวันนี้มัน B7 ที่โรงงานรับได้ รับได้ที่ B7 แต่ผมคิดว่าในอนาคตข้างหน้าเนี่ยเทคโนโลยีมันสูงกว่านี้ มันสามารถที่จะทำได้ถึง B20 ไม่น่ามีปัญหา แต่ว่าก็ค่อยๆว่าไป แต่ว่าอย่างน้อยๆ ก็คือว่า มันควรจะทำให้คนที่ทำการเกษตรเนี่ยไม่เจ๊ง ทำเกษตรเจ๊งเนี่ยมันคืออะไรล่ะ เพราะว่าทุกคนทำอาชีพอะไรก็แล้ว แต่ เขาต้องสามารถเลี้ยงลูกเลี้ยงเมียได้ เลี้ยงครอบครัวได้ แต่ว่าวันนี้ปรากฏว่ายิ่งทำก็ยิ่งติดหนี้ ยิ่งทำ ก็ยิ่งติดหนี้ไม่ได้ เอาเทคโนโลยีเข้าไปใช้ เอาการตลาดเข้ามาใช้ เอาการแปรรูปเข้ามาใช้ เท่านี้ล่ะครับว่าการเกษตรเราจะกลายเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่รุ่งเรืองได้ แล้วก็จะทำให้คนไทยมีช่องทางในการทำมาหากินได้ เพราะฉะนั้นบางทีไม่มีที่มากมาย ที่เล็กๆ ก็สามารถทำการเกษตรได้ ไม่ต้องมีน้ำมาก ใช้แค่น้ำก๊อกธรรมดานิดหน่อย ก็สามารถทำการเกษตรได้ ทั้งหมดขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีและก็การตลาด

     การตลาดอีกส่วนหนึ่งที่ผมอยากจะพูดถึงก็คือว่า วันนี้ถ้าเราไปปลูกพืช ปลูกแล้วหวังจะขายทั่วไปในท้องตลาดเนี่ย ใครจะมาซื้อก็ซื้อ แบบตามยถากรรมเหมือนที่ผ่านมาเนี่ย มันชักจะมีปัญหา เพราะเนื่องจากว่าเวลาพืชมันออกมันออกพร้อมกัน แต่ว่ามันเป็นของเน่าเสีย เพราะฉะนั้นถ้าหากว่าไม่มีระบบการขายล่วงหน้า ไม่มีระบบการกระจายสินค้าที่รวดเร็ว การทำเกษตรก็จะเจ๊งอีก เพราะฉะนั้นทางการตลาดเนี่ย คนทำธุรกิจก็ต้องช่วยตัวเอง หรือว่าต้องดูกลไกต่างประเทศ ตลาดต่างประเทศที่จะเข้ามามีอิทธิพลต่อเราในทางกฎราคา หรือในการที่เราจะสู้โดยการทำกลไกตลาดเพื่อส่งออกต่างประเทศ ยกตัวอย่างทุเรียน อาลีบาบามาซื้อไปส่งขาย แต่จริงๆ แล้วเนี่ยจำนวนทุเรียนมันมีกี่ล้านลูกที่ออกมาปีนึงเนี่ย ถามว่า แล้วคนจีนกินเท่าไหร่ คนไทยกินเท่าไหร่ แล้วเราจะซื้อแข่งกันได้ไหม ราคามันก็จะขึ้น อันนี้คือสิ่งที่เป็นกลไกที่ทางภาคเอกชนกับภาครัฐต้องร่วมมือกันเพื่อช่วยคนที่ทำการเกษตรให้เขาเป็นการเกษตรที่มีกำไรนะครับ อันนี้ก็เป็นเรื่องของกลไกที่ต้องแก้ไขนะครับ

     ผมมองเห็นว่าช่องทางในการทำมาหากินทางเกษตรของประเทศไทยมีมาก แต่ต้องมาวางอย่างเป็นระบบ และเอาเทคโนโลยีมาใช้ในทุกขั้นตอนนะครับ แม้กระทั่งอย่างรถให้ปุ๋ยใช้โดรนก็มี ให้ยาพ่นใช้โดรน โดรนเดี๋ยวนี้ที่เมืองจีนตัวประมาณ 200,000 บาท ใช้พ่นยานะครับ บินขึ้นไปพ่นยา 2 แสนกว่าบาทเองครับ ทุกอย่างมันถูกลงเยอะเทคโนโลยี เพียงแต่ว่าเกษตรกรอาจจะยังหาไม่เป็น หาไม่เป็นว่ามันซื้อที่ไหนยังไงราคาเท่าไหร่ยังไงเนี่ย แล้วแต่คนเอามาถามถึงที่ ถามถึงที่บางทีฟันก็มีนะครับอย่างเช่นปุ๋ยก็เหมือนกัน ฟันค่าปุ๋ย ฟันค่ายาฆ่าแมลง ชาวเกษตรกรไม่มีทางเลือก ก็ชีวิตก็เลยลำบากอยู่อย่างนี้ เพราะฉะนั้นวันนี้ถ้าเรารู้เท่าทันกลไกของตลาดโลก เรารู้เท่าทันเทคโนโลยีที่จะเอามาใช้ให้เป็นประโยชน์ เรารู้เท่าทันวิธีการแปรรูป เรารู้เท่าทันว่าเขามีเทคนิคทางการเงินอย่างไรในการเอาเปรียบ หรือการที่เราจะได้เปรียบ อันนี้เป็นสิ่งที่จะต้องเอามาคิดรวมกันทั้งหมดนะครับ 1.รู้เรื่องตัวพืชที่เราจะปลูกหรือที่ทำเป็นธุรกิจ 2.เรารู้ธรรมชาติของมันทั้งการตลาดและการแปรรูป แล้วก็ 3.เราเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ให้เต็มที่ ก็จะทำให้คนรุ่นใหม่สามารถค้าขายทำมาหากินได้อีกอย่างหนึ่งคือการเกษตรครับ วันนี้เอาแค่นี้นะครับ เพื่อจะให้แนวทางในการทำมาหากินมันชัดมากขึ้นนะครับ ก็ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนให้ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจโดยใช้การเกษตรเป็นหลักนะครับ ขอบคุณมากครับ สวัสดีครับ