ภาพถ่าย ดร. ทักษิณ ชินวัตร เมื่อปี พ.ศ. 2545
“ ผมห่วงคือเรื่องการตลาดของสินค้าที่เรากำลังจะส่งเสริมให้มี 1 ผลิตภัณฑ์ 1 ตำบล สินค้าของประเทศไทยที่นับวัน การแข่งขันก็รุนแรงขึ้น แล้วผู้ผลิตประเทศไทยนั้นได้ค่าจ้างต่ำมาก เพราะฉะนั้น ถ้าหากว่าเราสามารถกระจายเครือข่าย ในการขายของเราเองออกไปในเมืองที่สาคัญ ๆ สามารถขายได้ทั้งขายส่งขายปลีก ก็จะทำให้สินค้าของเราไม่ถูกกีดกัน สามารถที่จะเข้าก้าวไประกับประเทศและระดับโลก เหมือนกับมีโชว์รูมอยู่ในเมืองสาคัญ ๆ ทั่วโลก
และก็มีเครือข่ายในการขายในประเทศด้วย “
นี่คือคำกล่าวของดร.ทักษิณ ชินวัตร ที่เคยกล่าวไว้ในรายการ “นายกฯ ทักษิณคุยกับประชาชน” เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2544 ซึ่งถ้าย้อนกลับไปในวันที่พูดเรื่องนี้ก็ราว 18 ปีมาแล้ว แต่วิสัยทัศน์เรื่องนี้ยังคงได้รับการสานต่อจนจนกลายเป็นฟันเฟืองสำคัญสู่การขับเคลื่อนประเทศตัวสำคัญเลยทีเดียว
โมเดลการพัฒนาสินค้าท้องถิ่นให้กลายเป็นก้าวสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบนี้ จึงไม่ใช่แค่เพียงโครงการหวังผลระยะสั้น แต่คือโครงการแห่งความยั่งยืน ที่มีกรอบความคิด วิธีการ การดำเนินงาน และผลลัพธ์อย่างชัดเจน นั่นคือ การเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าโดยเฉพาะสินค้าท้องถิ่นที่ไม่ต้องลงทุนเกินความสามารถ แต่สามารถสร้างรายได้ที่มากขึ้นได้ ซึ่งนี่เป็นหัวใจสำคัญของประเทศกาลังพัฒนา
ดร.ทักษิณ มองเรื่อง OTOP (One Tambon, One Product) เป็นเรื่องที่เหมือนใกล้ตัวคนในชุมชน เพราะสินค้าทั้งหมดที่ชุมชนมีเป็นสิ่งที่คนในชุมชนทำเป็นอาชีพอยู่แล้ว แต่ความเป็นจริงการจะดำเนินโครงการนี้ให้สำเร็จ เป็นสิ่งที่ยังไกลตัวมาก โดยเฉพาะวิธีการทางการตลาดที่จะมาสนับสนุนให้กลุ่มชุมชนเหล่านี้เติบโตได้อย่างยั่งยืน … นี่คือโจทย์ที่สำคัญ
ในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2544 ดร.ทักษิณ ได้เดินทางไปประเทศญี่ปุ่น พร้อมผู้นำชุมชน10 กว่าคน และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมโครงการหนึ่งผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล เพื่อไปดูของจริงว่าเขามีแนวคิดอย่างไร เขาทำอย่างไร และได้ผลแค่ไหนในโครงการนี้
เมืองยูฟูอิน จังหวัดโออิตะ เป็นเมืองแรกของการพักที่ญี่ปุ่น และเมืองนี้เองที่ทำให้ดร.ทักษิณ ได้รับรู้ว่า ที่นี่คือต้นแบบของโครงการหนึ่งผลิตภัณฑ์ หนึ่งตาบลที่แท้จริง เพราะที่นี่ ”ขายธรรมชาติ” เมืองนี้เป็นเมืองที่พิเศษตรงที่มีน้ำพุร้อน คนในพื้นที่จึงสร้างโรงแรมลักษณะคล้ายกระต๊อบของญี่ปุ่น และต่อท่อให้น้ำพุร้อนสามารถไหลเข้าไปในห้องได้ สร้างบรรยากาศให้เป็นธรรมชาติจริงๆ และปรากฏว่าทำให้มีคนมาเที่ยวเมืองนี้วันละประมาณหมื่นกว่าคน ในหนึ่งปีมียอดนักท่องเที่ยวในเมืองเล็กๆแห่งนี้ราว 380,000 คน นั่นเพราะเขาขายจุดเด่นของเมืองที่เรียกว่าธรรมชาติที่เป็นทรัพย์สินอันยิ่งใหญ่
“ผมคิดว่าปกติแล้วมนุษย์เกิดมาก็ดิ้นรนหากิเลสไปจนถึงจุดหนึ่ง พอกิเลสขั้นสุดท้ายของมนุษย์ที่พบความสำเร็จแล้ว
ก็คือธรรมชาติครับ เพราะฉะนั้น บรรดาสิ่งที่ขายธรรมชาติกลับเป็นคนที่มีฐานะทั้งนั้นที่มาเที่ยว
เพราะว่าคนเหล่านี้ได้ไป ผจญภัยที่จะหาความสุขในรูปแบบต่าง ๆ มาหมดแล้ว
ผลสุดท้ายเมื่อถึงจุดหนึ่งก็จะอยากอยู่กับสิ่งที่เป็นธรรมชาติ ที่นี่เขาอนุรักษ์ทุกอย่าง และก็รักษาธรรมชาติไว้ได้ดี
และพิเศษไปกว่านั้นคืออาหารทุกอย่างของพวกเขาได้สร้างคุณค่าด้วยการบอกที่มา
นี่แหละคือการขายที่แท้จริง”
ไม่ใช่แค่เมืองยูฟูอิน ดร.ทักษิณยังได้พาผู้นำชุมชน และทีมที่เกี่ยวข้อง เดินทางไปยังอีกหลายเมืองของญี่ปุ่น เพื่อดูวิธีการประยุกต์ภูมิปัญญาให้เกิดเป็นรายได้ รวมไปถึงไปดูงาน Department Store ขนาดใหญ่ที่เป็นฐานตลาดรองรับการขาย โดยที่นั่นจะมีมุมให้สินค้าหนึ่งผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบลไปวางขาย พร้อมติดป้ายว่ามาจากสหกรณ์ไหน และร้านจะคิดค่าวางของแค่ 8 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ผู้ผลิตมีโอกาสและรายได้ที่ดีขึ้นในการกระจายสินค้าสู่ผู้บริโภค
และนี่เองจึงเป็นวิธีที่ดร.ทักษิณ ไม่ใช่แค่สอนทีมงานด้วยวาจา หรือสั่งผ่านคำสั่งบนกระดาษแล้วให้ไปลองผิดลองถูกกันเอง แต่นี่คือการสอนผ่านประสบการณ์ สร้างแรงผลักดัน และเรียนรู้ไปด้วยกันในวิถีใหม่ๆ พร้อมเชื่อมั่นว่าประเทศไทยทำได้
“หลังจากไปดูงานมา ผมหันกลับมามองประเทศไทย มองแล้วบอกได้เลยครับว่าประเทศไทยไม่มีอะไรด้อยกว่าเขาเลย เหลือแต่การจัดการการส่งเสริมให้คนทำงานร่วมกัน มีสปิริตแห่งการทางานร่วมกัน
และช่วยเหลือกันให้กาลังใจซึ่งกันและกัน นั่นคือสิ่งที่เราขาด”
ดังนั้นเมื่อกลับมายังประเทศไทย ดร.ทักษิณ ได้ลองเริ่มวางโมเดลหนึ่งผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล กับจังหวัดเชียงใหม่ เพราะเชียงใหม่เป็นจังหวัดที่สมบูรณ์ทางทรัพยากร และมีเสน่ห์ของสินค้าท้องถิ่นอย่างมาก โดยเป้าหมายหลักที่ต้องการแก้ไข คือการหาร้านค้าและคัดเลือกผลิตภัณฑ์ในชุมชนให้แข็งแกร่ง ส่งเสริมการผลิตร่วมกัน ใช้ทรัพยากรที่อยู่ในท้องถิ่น ใช้แรงงานความชำนาญพิเศษที่มีอยู่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น นั่นคือสิ่งที่เป็นหัวใจของความสำเร็จของหนึ่งผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล
แต่ก็ใช่ว่าทุกตำบลจะประสบความสำเร็จ บางตำบลก็ต้องใช้เวลาอยู่นาน แต่ทุกอย่างก็ต้องเริ่มในทันที เพราะดร.ทักษิน ยังมีจุดประสงค์แฝงให้คนไทยมีอาชีพเสริมนอกเหนือจากการทำเกษตรกรรม และมีพลังในการช่วยสร้างรายได้ให้ชุมชน จนสามารถส่งออกเป็นกำลังสำคัญของการขับเคลื่อนประเทศได้
จากวันนั้นจนถึงวันนี้โครงการนี้เรารู้จักกันดีในชื่อ “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” หรือ OTOP (One Tambon One Product)” ที่ส่งผลให้ชาวบ้านใน 7 พันตำบลทั่วประเทศไทย สามารถนำศักยภาพและความคิดสร้างสรรค์มาพัฒนาผลิตภัณฑ์ในชุมชนให้มีคุณภาพสูง พร้อมกับรัฐบาลให้การช่วยเหลือเรื่องตลาดสำหรับการวางขาย รวมถึงแนวคิดการสร้างมูลค่าเพื่มจากแพ็กเกจ จนบางผลิตภัณฑ์สามารถประสบความสำเร็จระดับประเทศ ยกระดับกลายเป็นกลายเป็น ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง(SMEs) หรือสินค้าส่งออก
และจนในปัจจุบันแม้จะผ่านมากว่า 18 ปี นับตั้งแต่วันที่ดร.ทักษิณเริ่มสร้างความคิดและลงมือทำ ทำให้ทุกรัฐบาลมีการสานต่อจนเป็นโครงการพื้นฐานของนโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ และทำให้ OTOP สร้างรายได้หลักหมื่นล้านบาทต่อปี
ซึ่งข้อมูลจากกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ชี้ว่าโครงการ OTOP สามารถสร้างรายได้ให้ประเทศกว่า 1.53 แสนล้านบาทในปี 2560 ซึ่งเป็นยอดที่เพิ่มขึ้นทุกปี นับตั้งแต่เริ่มโครงการในปี 2545 ยอดขายสินค้า OTOP อยู่ที่ 16,700 ล้านบาท และจีดีพีไทยเติบโตในปีนั้นกว่า 5-6% จนทะลุแสนล้านบาทครั้งแรกในปี 2548
และตัวเลขเหล่านี้เองจึงเป็นคำตอบของการมองการณ์ไกล สร้างฟันเฟืองเล็กๆที่ยิ่งใหญ่ในกลไกการขับเคลื่อน ให้คนธรรมดา สามารถไปถึงดาวของตัวเองได้
“ทุกแนวคิดของผม มีเป้าหมายเดียวกันคือ นำประเทศไทยผ่ากระแสโลกาภิวัฒน์และทุนนิยมโลกได้อย่างรอดปลอดภัยและแข่งขันกับเขาได้ เป็นวิสัยทัศน์ที่ผมเรียกมันว่า “ดาว”
“ประเทศไทยของเราขาดแค่วิสัยทัศน์ที่ชัดเจน หรือ ขาดดาว ส่องนำทางนั่นเอง”
ไม่ว่าดาวของความสำเร็จที่แท้จริงแล้วอยู่ตรงไหน แต่ดร.ทักษิณ ได้สร้างทางของดาวไว้ให้เป็นตัวอย่างในโครงการนี้แล้ว จากรากหญ้า สู่เศรษฐกิจประเทศ หัวใจสำคัญไม่ใช่ของใครดีกว่ากัน แต่คือคนในท้องถิ่นต้องช่วยกัน รวมพลังกันและส่งเสริมกัน เพื่อสร้างดาวดวงนี้ให้ไปประดับตามเมืองใหญ่ต่างๆทั่วโลกให้ได้ในที่สุด